สำหรับการเตรียมตัวแต่งงานของคู่บ่าวสาวนั้น ถือว่าเป็นวันสำคัญมาก ทั้งต้องเตรียมตัวหลายๆ อย่าง เตรียมการจัดงาน เตรียมติดต่อกับออแกไนซ์ ไหนจะต้องทำบัตรเชิญอีก อะไรต่างๆ รุมเร้ามากมายจนทำให้กังวลใจจนเกิดอาการตื่นเต้น ประม่า และอาจจะลืมทำสิ่งสำคัญๆ ไปได้เลย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีแก้อาการเหล่านี้ เพื่อความพร้อมที่สุดในงานวันสำคัญที่สุดของคุณเอาไว้ด้วย
กระจายหน้าที่งานให้ดี ให้คนอื่นช่วยดูแลบ้าง
ปกติหน้าที่ของคู่บ่าวสาวในวันแต่งงานก็เหนื่อยและวุ่นวายอยู่แล้ว ทั้งการเตรียมตัวพิธีต่างๆ การต้อนรับแขกและอีกมากมาย ดังนั้นเราควรให้หน้าที่การจัดงานอย่าง การตกแต่ง อาหาร งานด้านประสานงาน วงดนตรีและอุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งการดูแลแขกที่เข้ามามีส่วนร่วมภายในงาน ก็ต้องยกหน้าที่เหล่านี้ให้กับคนอื่นๆ แทน ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ญาติ เพื่อนสนิท หรือจากทีมออแกไนซ์ในการช่วยดูแลงานของคุณให้อยู่ในความเรียบร้อย จะได้ตัดความกังวลใจไปได้
ลดความวิตกกังวลด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ
ผู้บ่าวสาวมักจะมีความกังวลใจ อาการประหม่าตื่นเต้น กับการเตรียมตัวในวันเข้าพิธี จนบางครั้งกลายเป็นอาการนอนไม่หลับ ไม่อยากทานอาหาร แต่หากนอนหลับให้เต็มอิ่มจะทำให้สมองปลอดโปร่ง และลดอาการวิตกกังวลได้อย่างดีทีเดียว ดังนั้นควรทำใจให้สบายและนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ เพื่อคายความกังวลที่เกิดขึ้นให้ได้ เตรียมพร้อมรับมือกับวันงานที่ยุ่งเหยิง และอย่าลืมที่จะรับประทานอาหารเพียงพอ จะได้มีแรงสำหรับการจัดงานวันสำคัญ แต่แนะนำว่าอย่าทานอาหารที่มีรสจัดหรือของหมักของดอง และไม่ควรทานมากเกินไปเพราะอาจจะท้องเสียได้
เตรียมการแต่งกายไว้ให้พร้อมก่อนเริ่มวันงานจริง
เครื่องแต่งกายถือเป็นสิ่งสำคัญมากในวันแต่งงาน และเราควรเตรียมไว้ก่อนหน้าวันแต่งงานเพื่อที่จะได้ไม่ฉุกเฉินเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชุดหรือเครื่องประดับต่างๆ รองเท้า หรือแม้แต่การแต่งหน้าทำผม ก็ควรเตรียมมาให้เรียบร้อย หรือถ้าให้ดีก็ควรที่จะลองแต่งหน้า ลองใส่ชุดดูก่อนหลายๆ วัน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าตรงไหนจุดบกพร่องและไม่โอเคจะได้หาเตรียมมาได้ทันเวลาก่อนถึงวันงาน วันที่จะสื่อสารกับช่างแต่งหน้า เพื่อให้เข้าใจได้ตรงไปในทิศทางเดียวกัน และอย่ากังวลมากเกินไปว่าจะออกมาเป็นแบบไหน ถ้าเห็นว่าดีแล้วก็แค่มั่นใจไปเลย
เตรียมและซ้อมสคริปต์บทพูดบนเวทีไว้ให้เรียบร้อย
การพูดบนเวทีงานของตนเองนั้นถือว่าเป็นอะไรที่ทำให้หลายๆ คนค่อนข้างประหม่า ดังนั้นแนะนำว่าควรเตรียมพูดบนเวทีไปก่อน ถ้าเป็นไปได้ก็ลองซ้อมยืนบนเวทีแล้วพูดในสิ่งที่เตรียมเอาไว้ ควรมีสคริปหรือบทพูดคุยกับพิธีกรเพื่อจะได้รู้ลำดับพิธีการในการเตรียมตัวอย่างเป็นขั้นตอน ให้รายละเอียดว่าต้องกล่าวถึงแขกสำคัญคนใดบ้างเมื่ออยู่บนพิธี รวมถึงควรฝึกอ่านชื่อ นามสกุล และยศฐาบรรดาศักดิ์ เตรียมไว้ก่อนเพื่อที่อยู่บนเวทีในวันงานจริงจะได้ไม่พูดติดขัด
อย่าเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงวันใกล้เริ่มงานแล้ว
สิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคืออย่าเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงวินาทีสุดท้ายหรือวันสุดท้ายก่อนวันงานเริ่มต้นขึ้น หลายๆ คนมักจะมีความกังวลว่ากลัวงานจะออกมาไม่สมบูรณ์แบบ หรือไม่เหมือนกับที่ใจตัวเองต้องการ จึงอยากจะปรับนู่นเปลี่ยนนี่ให้ออกมาตามใจตัวเองมากที่สุด จนลืมคิดไปว่าใกล้ถึงวันงานแล้ว แนะนำว่าถ้าจะวางแผนเปลี่ยนอะไรก็ควรทำอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เพราะจะได้เตรียมตัวได้ทัน และอย่าพยายามเปลี่ยนอะไรถ้าคิดว่าไม่มั่นใจว่าจะออกมาดีแล้ว เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะมีการหลุดคิวเกิดขึ้นได้ เดี๋ยวงานจะล่มไปเสียเปล่า